การปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด BCG โมเดล
- Description
- Curriculum
- Reviews
คำอธิบาย
เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ถอดบทเรียนมาจากหลักสูตรการเรียนรู้เกษตรปลอดภัยตามแนวคิดเศรษฐกิจ BCG สำหรับเด็กและเยาวชน กิจกรรม BCG Kids Camp ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะชีวิตและปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด BCG สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ๆ ด้วยการทำงานเป็นทีมด้วยกิจกรรมคุณภาพ เน้นดูแลอย่างใกล้ชิด เสริมสร้างพัฒนาการ 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด BCG ให้กับเยาวชนผ่านสื่อออนไลน์ และเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนดิจิทัลในหลักสูตรดังกล่าวสำหรับผู้สนใจที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยผ่านสื่อออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา
กลุ่มเป้าหมาย
เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีอายุระหว่าง 7-12 ปี หรือผู้สนใจ
จุดมุ่งหมายของบทเรียน
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด BCG โมเดล (Bio-Circular-Green economic model)
เนื้อหาบทเรียน
การปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด BCG โมเดล สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ทำได้ที่บ้าน และถ่ายทอดให้กับครอบครัวได้ ประกอบด้วย 4 บทเรียน คือ
บทที่ 1 “การปลูกผักสลัดปลอดสารพิษในโรงเรือน”
- เรียนรู้วิธีการปลูกผักสลัดในโรงเรือน ตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัย
- ช่วยฝึกทักษะในการใช้อุปกรณ์สำหรับปลูกผัก ได้ออกกำลังกาย ฝึกวินัย และฝึกให้มีความรับผิดชอบในการรดน้ำและดูแลผักสลัด
- เรียนรู้ชีวิตจากการสัมผัสธรรมชาติ ปลูกฝังนิสัยให้เด็กชอบรับประทานผักเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
- เรียนรู้ชนิดของผักสลัด ทราบคุณประโยชน์ไปพร้อมกับวิธีการสังเกตและแยกแยะผักสลัดแต่ละชนิด
บทที่ 2 “ช่วยกันทำปุ๋ยหมัก รักษ์สิ่งแวดล้อม”
- เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยใช้วัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติในชีวิตประจำวันมาเป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ย
- เรียนรู้การลดมลภาวะเป็นพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาใบไม้ และลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร
บทที่ 3 “ปรุงดินปลูกผัก ผลผลิตเพื่อสิ่งแวดล้อม”
- เรียนรู้วิธีการทำดินผสมสำหรับปลูกพืชด้วยตนเอง
- ทราบส่วนประกอบต่าง ๆ ในการทำดินผสมสำหรับปลูกพืช
บทที่ 4 “Walk rally ตามล่าหาพรรณไม้ท้องถิ่น”
- เรียนรู้ชนิดของพรรณไม้ท้องถิ่นหายากที่ปลูกในแปลง อพ.สธ
- เรียนรู้ สังเกต และสามารถจำแนกพืชตามลักษณะเฉพาะของพืชแต่ละชนิด
- ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการปลูกฝังให้เด็กรักธรรมชาติ
-
1การปลูกผักสลัดปลอดสารพิษในโรงเรือน
วัตถุประสงค์
- เพื่อเรียนรู้วิธีการปลูกผักสลัดปลอดสารพิษในโรงเรือนตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัย ตั้งแต่การเพาะเมล็ด การย้ายต้นกล้าลงปลูกในกระถางด้วยตัวเอง และการดูแลต้นกล้า และฝึกความอดทนรอคอย เพราะการปลูกผักมีระยะเวลาไม่สามารถเร่งให้โตได้ทันใจ
- เพื่อเรียนรู้สัมผัสวิถีชีวิตแบบพอเพียงจากการสัมผัสธรรมชาติ สร้างทัศนคติที่ดีต่อการรับประทานผักเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
- เรียนรู้ชนิดของผักสลัด เห็นประโยชน์และคุณค่าของผักสลัดไปพร้อมกับวิธีการสังเกตและแยกแยะผักสลัดแต่ละชนิด
- เพื่อฝึกทักษะในการใช้อุปกรณ์สำหรับปลูกผัก ได้ออกกำลังกาย ฝึกวินัย ฝึกสมาธิ และฝึกให้มีความรับผิดชอบในการรดน้ำและดูแลผักสลัด
-
2ใบงานที่ 7 จับคู่ลำดับการปลูกผักสลัด
-
3การทำปุ๋ยหมัก รักษ์สิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude) ต่อสภาพแวดล้อมและการอนุรักษ์ธรรมชาติ
- เพื่อฝึกการจดจ่อใส่ใจ ด้วยการพยายามผสมวัสดุในการทำปุ๋ยหมัก
- สามารถนำวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติมาทำปุ๋ยหมักอย่างง่ายเพื่อใช้ในครัวเรือนได้
-
4ใบงานที่ 8 จับคู่เรียงลำดับการทำปุ๋ยหมัก
-
5การปรุงดินปลูกผัก ผลผลิตเพื่อสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้กับเด็ก ที่ได้ปรุงดินปลูกพืชเพื่อใช้ปลูกผักและได้ผลผลิตตามเป้าหมาย
- เพื่อสร้างเจตคติ (Attitude) ต่อสภาพแวดล้อมและการอนุรักษ์ธรรมชาติ
- เพื่อฝึกการจดจ่อใส่ใจในการพยายามคลุกส่วนผสมในการปรุงดินปลูกพืชให้เข้ากันอย่างดี
- สามารถนำวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติมาปรุงดินปลูกพืชอย่างง่ายเพื่อใช้ในครัวเรือนได้
-
6ใบงานที่ 9 วัสดุปรุงดินปลูกผัก
-
7Walk rally ตามล่าหาผลไม้ท้องถิ่น
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้นักเรียนรู้จักชนิดของพันธุ์ไม้ท้องถิ่นหายากประเภทไม้ยืนต้น และรูปร่างลักษณะของผล
- เพื่อปลูกจิตสำนึกรักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน
- พัฒนาทั้งทักษะร่างกาย ทักษะสมอง และพื้นฐานเรื่องการทำงานเป็นทีมที่เหมาะสมตามวัย